M Series
 อุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมระบบการสื่อสาร ระบบอินเตอร์เน็ต ระบบกล้องวงจรปิดและเกษตรกรรม เหมาะสำหรับงานอาคารภายนอก (Outdoor)

 WiPLUX M Series คือ Smart PDU (Power Distribution Unit) ที่มาพร้อมกับคุณสมบัติการควบคุมและการตั้งเวลาแบบเรียลไทม์ เป็น PDU อัจฉริยะที่สามารถตรวจสอบและควบคุมได้จากระยะไกล อุปกรณ์นี้มีการออกแบบด้วยสกรูเดี่ยวและสามารถติดตั้งบนชั้นวางหรือติดตั้งบนผนังได้อย่างง่ายดาย ส่วนใหญ่จะใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจและองค์กร และเป็นส่วนหนึ่งของแพลตฟอร์มโซลูชัน WiPLUX IoT ด้วยอุปกรณ์นี้ คุณสามารถตรวจสอบและกำหนดการควบคุมการจ่ายพลังงานได้จากระยะไกล
คุณสมบัติของฮาร์ดแวร์
  ตัวเครื่องของ WiPLUX M series ได้มีการออกแบบให้มีการใช้แค่สกรูตัวเดียวในการประกอบ และวัสดุทำจากโลหะเคลือบสีผงแล้วอบเพื่อให้มีความทนทานต่อ สภาพอากาศและมีความแข็งแรง โดยมีขนาดตามมาตรฐาน 1U สำหรับติดตั้งในตู้แร็ค และราง DIN แผงวงจรภายในได้มีจัดเรียงรีเลย์อย่างคุณภาพเพื่อลดการรบกวนของ สนามแม่เหล็กในระบบและยังทนต่อการลัดวงจร โดยสถานะอุปกรณ์ทั้งหมดจะแสดงบน LED ที่แผงด้านหน้าเครื่องและแสดงบนเว็บแอปพลิเคชันซึ่งผู้ใช้สามารถตรวจสอบ ได้แบบเรียลไทม์ พร้อมทั้งมีคุณสมบัติอื่น ๆ ได้แก่
  1. มีวาริสเตอร์โลหะออกไซด์ที่ป้องกันความร้อนคุณภาพสูง (TMOV) 3 ตัว สำหรับการป้องกันไฟกระโชก (เฉพาะแบบช่วงสั้น) พร้อมระบบบอกสถานะวาริสเตอร์แบบเรียลไทม์ (บางรุ่น)

  2. มีช่องต่อสายสื่อสาร PoWeR SWitch 2 ช่อง สำหรับจัดการ เปิด/ปิด เมนบอร์ดของเครื่องคอมพิวเตอร์หน้างาน โดยทำงานผ่านเว็บแอปพลิเคชัน

  3. มีระบบตรวจจับสถานะการหมุนของพัดลมตัวเครื่อง และบอกสถานะการทำงานของพัดลมบนเว็บแอปพลิเคชัน

  4. มีช่องทางการสื่อสารสำหรับ Ethernet และ Wireless Network และสามารถเชื่อมต่อพร้อมกันเป็นระบบสำรองซึ่งกันและกันได้ (Redundancy)

  5.ตัวยึดแร็คได้ออกแบบให้ติดตั้งได้ 5 ตำแหน่ง สามารถติดตั้งบนผนังตู้, ชั้นวางหรือยึดเก็บไว้กับตัวเครื่องเมื่อไม่ได้ใช้งานได้อย่างง่ายดาย

  6. สถานะของไฟ LED และสัญลักษณ์ของแผงแด้านหน้าตัวเครื่อง และหน้า Wi-Dashboard (Real-time) บนเว็บแอปพลิเคชัน

  7. รับกระแสรวมได้สูงถึง 30 A และมีช่องจ่ายไฟฟ้าแบบ Terminal block ครบทุกช่องจ่ายไฟฟ้า รอบรับได้ไม่น้อยกว่า 10A พร้อมมีช่องจ่ายไฟฟ้าแบบปลั๊กเสริมเพื่อความสะดวก ในการใช้งาน (เฉพาะรุ่น M42 และ M84)

  8. อุปกรณ์รองรับอุณหภูมิในการทำงาน (operating temperature) เริ่มต้นที่ -10 ถึง 50 องศาเซลเซียส (แบบมีเงื่อนไข)

  9. อุปกรณ์สามารถเชื่อมต่อผ่านอินเตอร์เน็ตและทำงานร่วมกับระบบเซิร์ฟเวอร์คลาวด์ของ WiPLUX

  10. ตัวอุปกรณ์รองรับการทำงานร่วมกับคอนโทรลเลอร์ (WiPLUX Q series) ผ่านครือข่าย LAN หรือ VPN ในลักษณะแบบรวมศูนย์ได้

  11. มีระบบซอฟต์แวร์ที่สามารถทำงานร่วมกับเซ็นเซอร์เสริมของ WiPLUX เพื่อกำหนดเงื่อนไขเปิดและปิดช่องจ่ายไฟฟ้าได้

  12. อุปกรณ์มีระบบแจ้งเตือนผ่านทาง LINE notify หรือ e-mail ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ใช้ทราบถึงการใช้งานหรือปัญหาได้

  13. ตัวอุปกรณ์มีการรับประกันเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี (WiPLUX มีประกัน 1 ปี สามารถซื้อประกันเพิ่มได้ถึง 5 ปี ทุกรุ่น)

  14. มีระบบปฏิบัติการ (OS) ติดตั้งมากับเครื่องมีลิขสิทธิ์ถูกต้องเท่านั้น
คุณสมบัติของซอฟต์แวร์
  ควบคุม M series ผ่านเว็บแอปพลิเคชัน app.wiplux.com หรือ IP Address บน Local Area Network สามารถล็อกอินผู้ใช้ได้มากกว่า 1 อุปกรณ์พร้อม ๆ กัน พร้อม ธีมสีให้ผู้ใช้เปลี่ยนบนเว็บแอปของ WiPLUX Cloud ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่มีความยืดหยุ่นที่รองรับระบบปฏิบัติการ Windows, iOS, Linux, Android และใช้งานผ่านเว็บเบราว์เซอร์ Chrome, Firefox, Opera, Microsoft Edge, Safari สามารถใช้งานผ่านสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต แล็ปท็อป และคอมพิวเตอร์ พร้อมทั้งระบบตรวจสอบกระแส แรงดัน และกำลังไฟฟ้า ด้วยความละเอียดทศนิยม 2 ตำแหน่ง อีกทั้งยังมีการควบคุมที่ Local Area Network เพื่อเลือกใช้งานที่สะดวกและเหมาะสม นอกจากนี้ Log File ยังใช้งานได้ตลอดเวลาเพื่อดู กิจกรรมย้อนหลัง ซึ่งคุณสามารถซื้อพื้นที่จัดเก็บเพิ่มเติมเพื่อการใช้งานที่เหมาะสม และรองรับการใช้ 10 WiPLUX PDU พร้อมกัน โดยเข้าใช้งานร่วมกันผ่านการเรียกใช้หนึ่ง IP address ให้แสดงและควบคุมในหน้าจอเดียว (Mesh Topology) โดยไม่ต้องใช้เครื่องคอนโทรลเลอร์ หรือระบบคลาวด์
Wi-Control:
    Configure: มีโหมดสำหรับการเลือกใช้งาน ได้แก่ โหมด SELF, MASTER และ INTERLOCK เพื่อจัดการควบคุม เปิด/ปิด/รีสตาร์ท ระบบไฟฟ้าแบบเรียลไทม์ ของแต่ละช่องจ่ายไฟ และจัดการอุปกรณ์ได้อย่างอิสระ
    GROUPING: เป็นการสร้าง PDU ขึ้นใหม่ โดยการจัดเรียงรีเลย์ในซอฟต์แวร์ แบ่งกลุ่มของรีเลย์หลายตัวในหนึ่ง PDU ให้กลายเป็นมากกว่าหนึ่ง PDU และรวมหลายรีเลย์หลายตัวจาก PDU สองตัวขึ้นไปกลายเป็น PDU เดียว เพื่อสะดวกในการจัดการจำนวนโหลดปริมาณมาก อย่างเป็นหมวดหมู่

Wi-Dashboard:
    WP-Realtime: สามารถตรวจสอบสถานะการทำงานและสภาพแวดล้อมแบบเรียลไทม์ของ WiPLUX ไคลเอนต์ผ่านทางเว็บแอปพลิเคชัน เช่น CPU usage, RAM usage, Storage usage, อุณหภูมิซีพียู (°C), ความชื้นสัมพัทธ์ (%RH), กระแสไฟฟ้า (A), แรงดันไฟฟ้า (V), กำลังไฟฟ้า (W), การเชื่อมต่อทางเครือข่าย Ethernet/WiFi, การเชื่อมต่อลงดิน, พัดลมตัวเครื่อง เป็นต้น (เฉพาะรุ่นที่ลงท้ายด้วย B หรือ C)
    Consumption: สามารถดูปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า ผลการคำนวณเป็นหน่วย และแสดงข้อมูลการใช้งานของแต่ละอุปกรณ์และสรุปค่าใช้จ่าย (เฉพาะรุ่นที่ลง ท้ายด้วย B หรือ C)
    Usage history: สามารถเลือกดูข้อมูลการใช้งานกำลังไฟฟ้า, ข้อมูลการใช้อุปกรณ์ก่อนหน้า

Wi-Dev: สร้างมาเพื่อการต่อยอดสำหรับนักพัฒนา ที่มีอุปกรณ์รองรับ API (get & post) หรือจะใช้งาน WiPLUX เพียงอย่างเดียวก็ได้

Wi-Map: เป็นการปักหมุดอุปกรณ์ WiPLUX หรืออุปกรณ์ที่เป็นผลิตภัณฑ์ร่วมที่ทำการติดตั้งสำเร็จบนแผนที่ เพื่อช่วยในการจดจำตำแหน่งในกรณีที่ต้องทำการติดตั้งอุปกรณ์หลายชิ้นในบริเวณหรือตำแหน่งที่ต่างกัน

Wi-Ping: ใช้สำหรับสร้างเงื่อนไขอัตโนมัติ เพื่อแก้ปัญหาอุปกรณ์ไอทีค้างหรือไม่มีการตอบสนอง โดยมีลักษณะการทำงานเป็นการใช้คำสั่ง ping ในโปรโตคอล ICMP หากตรวจพบว่าอุปกรณ์นั้นไม่ตอบสนองสามารถสั่ง เปิด/ปิด/รีสตาร์ท หรือดำเนินการอื่น ๆ ช่องจ่ายไฟฟ้าได้อัตโนมัติ

Wi-Recloser: สำหรับตั้งค่าการป้องกันกระแส, แรงดัน และกำลังไฟฟ้า เกินกว่าหรือต่ำกว่ากำหนด แบบปรับค่าได้ ในแต่ละช่องจ่ายไฟฟ้า และระบบสามารถต่อไฟฟ้ากลับมา โดยอัตโนมัติได้ตามเงื่อไขที่ตั้งไว้ (เฉพาะรุ่นที่ลงท้ายด้วย B)

Wi-Schedule: สามารถตั้งตารางเวลากำหนดการทำงาน เปิด/ปิด ของแต่ละช่องหรือทุกช่องจ่ายไฟในระดับความละเอียดระดับวินาที ซึ่งสามารถวางแผนล่วงหน้าได้อย่างน้อย 5 ปี ทั้งแบบเลือกวันเวลาและแบบกำหนดการวนซ้ำรายสัปดาห์

Wi-Sense: ผู้ใช้สามารถตรวจสอบเซ็นเซอร์ WiPLUX ภายในหรือเซ็นเซอร์ภายนอกบางตัวที่ติดตั้งเพื่อการใช้งานเพิ่มเติม และสามารถกำหนดค่าให้เปิด/ปิดได้ด้วยอุปกรณ์ WiPLUX นั้น ๆ

Setting:
  Device: ใช้เพื่อเพิ่ม/ลบอุปกรณ์ WiPLUX และเซนเซอร์ในระบบและค้นหารายละเอียดต่าง ๆ ของอุปกรณ์ในระบบ นอกจากนี้ยังสามารถปรับเทียบค่าแรงดันไฟฟ้า, กำหนดความล่าช้า (ON-Delay) ในการเปิดแต่ละช่องจ่ายไฟ, พร้อมการกำหนดค่า DDNS (Dynamic Domain Name System) หมายเลขพอร์ตเมื่อต้องการเชื่อมต่อในเราเตอร์สำหรับใช้งานภายนอกระยะไกลไปยังเครือข่ายอุปกรณ์ภายใน และการตั้งค่าวันที่เวลาใน RTC (นาฬิกาเวลาจริง) สำหรับการจดจำเมื่อปิดเครื่อง
   Ethernet: การตั้งค่า IP และ DNS ให้กับอินเทอร์เน็ต
   WiFi: ค้นหาและเชื่อมต่อกับเครือข่ายสัญญาณ WiFi
   Calibration: การตั้งค่า ON-Delay, Voltage Calibration เป็นต้น
    - ON-Delay สามารถปรับตั้งค่าเวลาหน่วงการจ่ายไฟฟ้าให้แต่ละช่องจ่ายไฟฟ้า หลังจากกระแสไฟฟ้ากลับมาหรือเปิดอุปกรณ์ WiPLUX เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความไม่เสถียรเมื่อเริ่มป้อนกระแสไฟฟ้าให้ตัวอุปกรณ์และอุปกรณ์หลายเครื่องเริ่มทำงานพร้อมกัน
    - Voltage Calibration ปรับค่าเมื่อแรงดันไฟฟ้าที่แสดงบนหน้า Real-time ไม่ถูกต้อง
   Topology (on Local): สามารถเลือกรูปแบบการเชื่อมเครือข่ายเป็นแบบ เชื่อมกันเองระหว่างอุปกรณ์แต่ละชิ้นให้เป็นกลุ่ม (Mesh Topology), เชื่อมผ่านคอลโทรลเลอร์ (Controller Topology), เชื่อมผ่านระบบคลาวด์ (Cloud Topology) ของ WiPLUX เพื่อสะดวกในการขยายหรือแบ่งกลุ่มเครือข่ายในการใช้งาน
   Firmware: สามารถอัพเดตเฟิร์มแวร์ แบบออนไลน์ผ่านคลาวด์ หรือผ่านระบบเน็ตเวิร์คภายในโดยไม่ต้องผ่านอินเตอร์เน็ตได้
   Permission: รองรับการกำหนดสิทธิ์การเข้าใช้งานให้กับผู้ใช้ในแต่ละระดับ

Log file: ผู้ใช้สามารถย้อนกลับไปยังประวัติและการตรวจสอบเหตุการณ์ที่ผ่านมาในบางช่วง
M series ใช้กับระบบกล้องวงจรปิดขนาดใหญ่
  เช่น อบต., ทางถนน, ทางหลวง, มหาวิทยาลัย, ไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, ศุลกากร, ห้างสรรพสินค้า, หน่วยงานที่มีพื้นที่มากหรือหลายที่ตั้ง เป็นต้น

  ซึ่งในระบบกล้องที่เปิดใช้เป็นเวลานานจะมีอาการไม่ตอบสนอง, ไฟฟ้าตก, ทำงานไม่แน่นอนหรือกึ่งเสีย Wi-Ping ใน M series จะช่วยรีสตาร์ทอุปกรณ์ หรือปิดรอให้อุปกรณ์คลายความร้อนแล้วเปิดใหม่อีกครั้งอัตโนมัติ ถ้าระบบกล้องยังคงขัดข้องอยู่จะแจ้งผ่าน LINE Groupไปยังผู้ดูแลระบบ ซึ่งจะเหลือแต่งานซ่อมที่จำเป็นเท่านั้น อีกทั้ง WiPLUX ยังมีเครื่องมือซอฟต์แวร์ช่วยวินิจฉัยว่า อุปกรณ์ส่วนใดของระบบขัดข้องด้วย

  จะเห็นได้ว่าช่วยลดการเดินทาง ประหยัดเวลา ในการดูแลระบบ ทำให้เราใช้ระบบกล้องได้อย่างเต็มที่ และใช้บุคลากรน้อย