Skip to content
หน้าแรก
ผลิตภัณฑ์
WiPLUX Product
M series
M40
M42
M80
M84
L series
L8016
L8030
S series
C series
Q series
Co-Product
Platform
บริการ
สนับสนุน
เกี่ยวกับเรา
บทความ
IoT
Hardware Differences Between Industrial IoT and IoT
PDU
พลังงาน
เครือข่าย
Network
ไฟฟ้า
ทำไมต้องวัดพลังงานไฟฟ้า
โรงไฟฟ้าในไทย
วิธีการประหยัดไฟฟ้า
ไฟฟ้า 1 เฟส 3 เฟส
กระแสไฟฟ้า AC กับ DC
APPLY DEALER
WiPLUX CLOUD
หน้าแรก
ผลิตภัณฑ์
WiPLUX Product
M series
M40
M42
M80
M84
L series
L8016
L8030
S series
C series
Q series
Co-Product
Platform
บริการ
สนับสนุน
เกี่ยวกับเรา
บทความ
IoT
Hardware Differences Between Industrial IoT and IoT
PDU
พลังงาน
เครือข่าย
Network
ไฟฟ้า
ทำไมต้องวัดพลังงานไฟฟ้า
โรงไฟฟ้าในไทย
วิธีการประหยัดไฟฟ้า
ไฟฟ้า 1 เฟส 3 เฟส
กระแสไฟฟ้า AC กับ DC
APPLY DEALER
WiPLUX CLOUD
พลังงาน
พลังงาน (Energy) หมายถึง ความสามารถในการทำงานหรือทำให้เกิดงาน ผลการทำงานของแรงนั้นทำให้วัตถุหรือสิ่งใด ๆ เคลื่อนที่ หรือเคลื่อนไหว พลังงานนั้นสามารถจัดเก็บไว้ได้พลังงานไม่สามารถถูกทำลายได้ แต่สามารถเปลี่ยนแปลงจากรูปหนึ่งไปเป็นอีกรูปหนึ่งได้ เช่น พลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้า เป็น พลังงานกล หรือ พลังงานความร้อน เป็นต้น พลังงานสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับตัวมนุษย์เรามาก
เราจำแนกพลังงาน โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
พลังงานต้นกำเนิด (Primary Energy)
หมายถึง แหล่งพลังงานที่เกิดขึ้น หรือมีอยู่แล้วตามธรรมชาติสามารถนำมา ใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ได้แก่ น้ำ แสงแดด ลม เชื้อเพลิงตามธรรมชาติ เช่น น้ำมันดิบ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ พลังงานความร้อนใต้พิภพ แร่นิวเคลียร์ ไม้ฟืน แกลบ ชานอ้อย เป็นต้น
พลังงานแปรรูป (Secondary Energy)
หมายถึง สภาวะของพลังงานซึ่งได้มาโดยพลังงานต้นกำเนิดดังกล่าวแล้วข้างต้นมาแปรรูป ปรับปรุง ปรุงแต่ง ให้อยู่ในรูปที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในลักษณะต่าง ๆ ได้ตามความต้องการ เช่น พลังงานไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ถ่านไม้ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว เป็นต้น
สามารถจำแนกพลังงานได้ดังนี้
1. พลังงานเคมี (Chemical Energy)
เป็นพลังงานที่อยู่นสารเคมี หรือ วัตถุอัตรายซึ่งจะปล่อยออกมาเมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมีเช่น การเผาที่ใช้ ฟืน, ถ่านไม้ , น้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น
2. พลังงานความร้อน (Heat Energy/Thermal Energy)
เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของโมเลกุลของวัตถุต่าง ๆ ซึ่งพลังงานความร้อนต้องเกิดจากการกระตุ้น เช่น ใช้เตาแก๊สต้มน้ำ ทำให้เกิดความร้อนขึ้นมาได้
3. พลังงานจลน์ (Kinetic Energy)
เป็นพลังงานที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุเคลื่อนที่ เช่น รถที่กำลังวิ่ง ลูกธนูที่พุ่งออกจากแหล่ง
4. พลังงานศักย์ (Potential Energy)
เป็นพลังงานที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุถูกวางอยู่ในตำแหน่ง ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ ไม่ว่าจากแรงโน้มถ่วง หรือ แรงดึงดูดจากแม่เหล็ก เช่น ก้อนหินที่วางอยู่บนขอบที่สูง แล้วล่วงลงสู่พื้น
5. พลังงานไฟฟ้า (Electric Energy)
เป็นพลังงานที่ใช้มากที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นพลังงานที่ สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานรูปอื่นได้ง่าย เปลี่ยนเป็นพลังงานกล เช่น พัดลม มอเตอร์ เป็นต้น
6. พลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Energy)
เป็นลักษณะการแผ่รังสีของพลังงาน เช่น คลื่นวิทยุและคลื่นไมโครเวฟ ซึ่งเป็นคลื่นที่เกิดจากเครื่องใช้ไฟฟ้า